24 มีนาคม 2565

 

ระบบลำเลียง (Conveyor System ) คืออะไร ?

          ระบบลำเลียง (Conveyor System ) คือ ระบบการขนส่งที่ประกอบด้วยเครื่องกลที่สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลาย ชนิด เช่น อาหาร หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่น ๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ LINE ที่มีความยาว หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ระบบลำเลียงสินค้าเปรียบเสมือนระบบประสาทส่วนกลางสำหรับการดำเนินงานของคุณ

          ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมขวด อุตสาหกรรมบรรจุหีบห่อ อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมแช่เยือกเข็ง อุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูก ระบบลำเลียง (Conveyor System) มีประโยชน์มากในการขนส่งวัสดุที่มีปริมาณมาก หรือขนาดใหญ่ ระบบลำเลียง (Conveyor System) ช่วยให้ระบบการขนส่งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เพราะหากระบบลำเลียงทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ ส่วนงานอื่นๆ ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน

          ดังนั้นระบบลำเลียงจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในวงการอุตสาหกรรมไทยของเรา จุดมุ่งหมายหลักของระบบสายพานลำเลียง คือ ช่วยในกระบวนการต่างๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น และลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง จัดการจัดเก็บ การผลิตหรือการกระจายสินค้าการออกแบบระบบลำเลียงที่ดี ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์อย่างมากเพื่อปรับให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจนั้น

 

ประเภทของระบบลำเลียง (Conveyor System )

ระบบลำเลียง (Conveyor System) แบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลักๆ คือ

1. สายพานลำเลียง (Belt conveyor)

2. ลูกกลิ้งลำเลียง (Roller conveyor)

3. สกรูลำเลียง (Screw conveyor)

4. โซ่ลำเลียง (Chain conveyor)

5. กระพ้อลำเลียง (Bucket conveyor)

 

ระบบลูกกลิ้งลำเลียง Roller Conveyor System 



           ระบบลูกกลิ้งลำเลียง Roller Conveyor System คือ เป็นระบบลูกกลิ้งที่เป็นตัวพาชิ้นงาน อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ใช้ลำเลียงในแนวราบทางตรงหรือทางโค้ง มีลูกกลิ้ง (roller) เป็นตัวขับเคลื่อนให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ สามารถทนรับน้ำหนักได้ดี ดังนั้น ระบบลูกกลิ้งลำเลียงเป็นตัวพาชิ้นงานจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ที่ใช้ในกระบวนเคลื่อนย้ายชิ้นงาน

          เป็นการลำเลียงที่ใช้ลูกกลิ้งในการทำงานเป็นหลัก มีวัสดุของลูกกลิ้งให้เลือกใช้ตามแต่ความเหมาะสมอุตสาหกรรม และ โครงสร้าง สามารถแบ่งออกเป็น

-        Roller Rack เป็นลูกโรลเลอร์ที่ใช้กับชั้นวางสินค้า การทำงานเหมือนกับ Free Roller ไม่มีกลไกในตัวลูกโรลเลอร์ ใช้แรงโน้มถ่วงในการเคลื่อนที่ของพาเลท

 




-        Fix Drive Roller  เป็นลูกโรลเลอร์ที่ใช้มอเตอร์ขับเฟืองโซ่หรือสายพานเพื่อให้ลูกโรลเลอร์มีกำลังขับเคลื่อนพาเลท


-        Power Drive Roller เป็นลูกกโรลเลอร์ที่มีกลไกมอเตอร์ในตัวเอง ควบคุมผ่านโปรแกรม ไม่ต้องใช้มอเตอร์ภายนอกในการขับเคลื่อน

 


 

-        Free Roller ไม่มีกลไกในตัวลูกโรลเลอร์ ใช้แรงโน้มถ่วงหรือแรงดันในการเคลื่อนที่ของพาเลท


 
คุณสมบัติ และ วัตถุประสงค์การใช้งาน 

          เหมาะแก่สินค้าที่มีพื้นผิวส่วนสัมผัสกับลูกกลิ้ง ลักษณะ เรียบ

1. สามารถรับน้ำหนัก

2. สามารถลำเลียง(ความเร็ว)

3. สามารถทนทานอุณหภูมิตั้งแต่

4. เหมาะแก่ลำเลียงสินค้าระยะทางสั้นๆ

อุตสาหกรรมที่นิยมใช้ 

1. สิ่งพิมพ์

2. ชิ้นส่วนรถยนต์

3. เฟอร์นิเจอร์

4. อาหารและเครื่องดื่ม

5. เครื่องใช้ไฟฟ้า

 

 

ระบบลำเลียงแบบสายพาน (Belt Conveyor)



            ระบบลำเลียงแบบนี้จะใช้ สายพาน ในการลำเลียง โดยมีวัสดุของสายพาน(พื้นที่รองรับสินค้า) ให้เลือกใช้ตามแต่ความเหมาะสมอุตสาหกรรม และ โครงสร้าง ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกันไปเช่น ความทนทานสูง สามารถทนแรงเสียดทานสูง , สามารถทนอุณหภูมิสูงหรือต่ำ, สามารถทนความชื้น, สามารถทนน้ำมัน, และ สามารถทนสารเคมี เป็นต้น 


          ระบบลำเลียงแบบสายพานที่มีประสิทธิภาพสูงถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น อาหาร หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่น ๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ ส่วนการผลิตที่มีความยาว หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต อาทิเช่น การคัดคุณภาพ การแปรรูป เป็นต้น

 

คุณสมบัติ และ วัตถุประสงค์การใช้งาน 

1. เหมาะแก่สินค้าที่

2. สามารถรับน้ำหนัก

3. สามารถลำเลียง(ความเร็ว)

4. สามารถทนทานอุณหภูมิตั้งแต่

5. เหมาะแก่ลำเลียงสินค้าระยะทาง

อุตสาหกรรมที่นิยมใช้ 

1. สิ่งพิมพ์

2. ชิ้นส่วนรถยนต์

3. เฟอร์นิเจอร์

4. อาหารและเครื่องดื่ม

5. เครื่องใช้ไฟฟ้า


 

 

 

 

ระบบลำเลียงแบบโซ่ (Chain Conveyor)

          ระบบลำเลียงแบบโซ่จะใช้เป็นหลักในการขนส่งสินค้า หรือ วัสดุ ต่างๆ ได้ ที่มี น้ำหนักมาก  ส่วนมากเป็นระบบไฮดรอลิกซึ่งสามารถ ปรับระดับความสูงได้หลายระดับ ส่วนใหญ่มีลักษณะด้านบนเป็นแผ่นเรียบเหมือนโต๊ะสำหรับวางของหรือสินค้า เช่น แท่นวางสินค้า(พาเลท), กล่องแบบตารางเมตร และภาชนะบรรจุอุตสาหกรรม สายพานเหล่านี้มีแบ่งเป็น ห่วงโซ่เดี่ยว หรือ ห่วงโซ่คู่ ในการเลือกใช้ตามความเหมาะสมในโครงสร้างและอุตสาหกรรมนั้นๆ

          ภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากใช้เทคโนโลยีระบบสายพานลำเลียงแบบโซ่ในสายการผลิตของลูกค้า เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วไปใช้ระบบสายพานลำเลียงแบบโซ่การถ่ายทอดชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อลำเลียงเข้าโรงพ่นสี เป็นต้น


คุณสมบัติ และ วัตถุประสงค์การใช้งาน 

1. เหมาะแก่สินค้าที่

2. สามารถรับน้ำหนัก

3. สามารถลำเลียง(ความเร็ว)

4. สามารถทนทานอุณหภูมิตั้งแต่

5. เหมาะแก่ลำเลียงสินค้าระยะทาง

อุตสาหกรรมที่นิยมใช้ 

1. สิ่งพิมพ์

2. ชิ้นส่วนรถยนต์

3. เฟอร์นิเจอร์

4. อาหารและเครื่องดื่ม

5. เครื่องใช้ไฟฟ้า

 


 

 

 

 

 

รถ AGV คืออะไร ?



        Automated guided vehicle systems (AGV) หมายถึง อุปกรณ์ประเภท AGV มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภท Industrial Truck แตกต่างที่ AGV ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ และถูกกำหนดเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ไม่ต้องใช้คนขับ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท AGV มักต้องลงทุนสูง ทั้งค่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม

การใช้งานรถ AGV เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้

1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น 2 ทิศทาง

4) การเพิ่มความจุของรถ AGV

 

การควบคุมการจราจรและความปลอดภัย

1.วิธีตรวจจับรถที่อยู่ข้างหน้า (On-Board Vehicle Sensing หรือ Forward Sensing)

2.วิธีการโซน (Zone Blocking)

          -กันชนฉุกเฉิน

          -สัญญาณเตือน

          -ระบบหยุดเมื่อออกนอกเส้นทาง

การบริหารระบบ

1. ควบคุมจากแผงควบคุมที่อยู่บน AGV (On-Board Control Panel)

2. เรียกจากสถานีที่อยู่ห่างไกล  (Remote Call Station)

3. ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง  (Central Computer Control)


agv driver train



AGV Pallet Truck



 AGV Unit Load Carrier





สมาชิกในชั้นเรียนไฟฟ้าห้อง B

รายชื่อสมาชิกในชั้นเรียน


             ลำดับที่                                                  รายชื่อ                                               ชื่อเล่น

                                                               อาจารย์ธภัทร ชัยชูโชค                            อาจารย์ปาล์ม

          045                                               นาย พงศกร เหล็มเหร็ม                            ฟิก

          046                                               นาย ภูมินทร์ เซ่งอั้น                                 โอ๊ต

          048                                               นาย มัซลัณ สาและ                                  ลัน

          049                                               นาย มัูฮัมหมัดอิรฟาน วาเล็ง                       ฟาน

          050                                               นาย มูฮัมหมัดฮารีส มะลี                           ฮาริส

          052                                               นาย ยุทธนา เดชะบุญ                               บอย

          053                                               นาย ยุุสรี แวอูมา                                    ยุสรี

          054                                               นาย รอฉีดี ซาหีมซา                                 ดี้

          055                                               นาย รัตนพงษ์ เดิมหลิ่ม                             ท็อป    

          056                                               นาย วรวงศ์ ชูศรีสุข                                  วรวงศ์

          057                                               นาย วัชรินทร์ ทองด้วง                               อาม

          058                                               นาย วันอิลฮาม อาแวดอเลาะ                       อัง

          060                                               นาย ศักดิ์ดา ยาพระจันทร์                           ศัก

          061                                               นาย สรวิชญ์ สีนวน                                   เฟรม

         062                                               นาย สรศักดิ์ ทองประดับ                              เต้

         063                                               นาย สิทธิพงค์ แก้วจุลกาญจน์                       แก็ต

         066                                               นาย อนุศักดิ์ วาดี                                      ก้าน

         068                                               นาย อัซฮา ยามา                                       ฮา

         069                                               นาย อัตฟัลซารอยา จูนิ                               ปะจู

         070                                               นาย อับดุุลฮากีม เหตุ                                 กีม

         071                                               นาย อับดุลฮาฟิร์ ดอเลาะ                            ฟิต

         072                                               นาย อับบัด หมานระโต๊ะ                              บัด

         075                                               นางสาว อัสซูวานา ลาเตะ                             วันนา

         077                                               นายอาดัม หลงหัน                                      อาดัม

         079                                               นาย อามีน ซาและ                                      อามีน

         080                                               นาย อิกรอม อาแด                                      ย๋อง

         082                                               นาย ฮัมดี มะสะแม                                      ดี   

         083                                               นาย ฮัสบูดิง บิง                                         ฮัสบูดิง

         084                                               นาย ฮาซัน สารง                                         ซัน

         085                                               นาย ฮาบิ๊บ ดือราแม็ง                                   บี๊บ

         086                                               นาย ศุภฤกษ์ หมันสัน                                   เลอ

 

13 มีนาคม 2565

 

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


  ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเกิดตลาดใหม่ การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในภูมิภาค และประเทศคู่แข่งทางการผลิตที่มีความพร้อมของค่าจ้างแรงงาน สร้างผลกระทบต่อผู้รับจ้างผลิตของไทย ทั้งด้านต้นทุน คุณภาพ และความสามารถในการผลิต ซึ่งทำให้รูปแบบการผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันกับคู่แข่งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และสายการผลิตแบบอัตโนมัตินั้นได้มีการใช้งานกันในระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเป็นปกติอยู่แล้ว แต่มักเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่หรือมาจากการย้ายฐานหรือเทคโนโลยีการผลิตแบบอัตโนมัติมาพร้อมกับการเริ่มต้นธุรกิจ




สถานการณ์ปัจจุบันกับการเปลี่ยนแปลง

     ในปัจจุบันระบบการผลิตแบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ และมีราคาที่ผู้ประกอบการผลิตอุตสาหกรรม ขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ และมีโซลูชั่นมากมายหลายรูปแบบ แต่การเลือกระบบอัตโนมัติ มิได้พิจารณาเฉพาะด้านต้นทุน คุณภาพ และความสามารถในการผลิต ยังมีปัจจัยเรื่องความยากง่ายในการใช้งาน การอัพเกรด การซ่อมบำรุง การใช้พลังงาน ตัวบุคลากรผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งาน เกิดความยากในการตัดสินใจเลือกใช้งาน และกังวลต่อประสิทธิภาพ หรืออาจมองไม่ครอบคลุม การพิจารณาที่ราคาต่ำอย่างเดียวจึงกลายเป็นอุปสรรคในการแข่งขันเพราะระบบที่เลือกไม่เหมาะสม



          นอกจากเทคโนโลยีอัตโนมัติแล้ว หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิต และเป็นหนึ่งในวิธีการเพิ่มความสามารถในการผลิต ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนระบบอัตโนมัติเดิมมาเป็นการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในสายการผลิต ซึ่งจากการคาดการณ์ ของ IFR (International Federation of Robotics) ยอดขายหุ่นยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 6% โดยเฉลี่ยต่อปี จาก ปี พ.ศ.2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 และในปีต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่อง และนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในกระบวนการผลิต เราในฐานะแรงงานที่ต้องรับผลกระทบโดยตรงจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลความรู้ขึ้นพื้นฐานเกี่ยวกับหุนยนต์ในงานอุตสาหกรมเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆ หรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมา       ประยุกต์ใช้งาน สำหรับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 7 ชนิด ดังนี้

-                Cartesian Robot

-           -      Cylindrical Robot

-            -    Polar Coordinate Robot

-           -     Scalar Robot

-            -    Articulate Robot

-            -    Spine Robot

-             -    Parallel link Robot

          หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันด้วยแต่ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการพื้นฐานเดียวกัน ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด นั่นคือ Articulate Robot อันเนื่องมาจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีความสามารถในการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าขนิดอื่นๆ นั่นเอง

Articulate Robot เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับแขนของมนุษย์ตั้งแต่ช่วงหัวไหล่ไหลลงไป นั้นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ จะมีความสามารถในการทำงานและความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ในลักษณะที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ของแขนมนุษย์นั่นเอง หลายๆ คนจึงมักเรียกหุ่นยนต์ชนิดนี้ว่า ‘แขนกล’


รูปที่ 1 : แสดงลักษณะ Articulate Robot หรือ แขนกล

          จากรูปที่ 1 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นลักษณะของ Articulate Robot หรือที่เรียกกันว่า แขนกล จะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับของของมนุษย์ ซึ่งนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการหยิบจับชิ้นงานในกระบวนการผลิต แต่ในปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานให้มีความสามารถมากกว่าทำงานใช้หยิบจับชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ในกระบวนการงานเชื่อมโลหะต่างๆ งานพ่นสี หรืองาน Spot Gun และบางองค์กรยังมีการพัฒนาให้หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถทำงานในกระบวน Machining อีกด้วย จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานข้างต้น จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้งานทดคนนั่นเป็นเรื่องจริงเลยทีเดียว ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์เพื่อนำมาทำงานทดแทนคนก็เพราะหุ่นยนต์มีสิ่งที่ไม่เหมือนคน ดังนี้

          หุ่นยนต์มีความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการทำงาน

          หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานในกระบวนซ้ำๆ ได้ดีกว่า

          หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานได้หลากหลาย

          หุ่นยนต์สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม



          จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นข้อดีของหุ่นยนต์ที่จะถูกนำมาใช้งานทดแทนคน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีไม่กว่าคนเสียทั้งหมด แน่นอนว่าหุ่นยนต์ก็คือเหล็กที่ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันและใส่กลไกต่างๆ ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ อีกทั้ง ยังต้องมีระบบในการควบคุบการทำงาน ดังนั้น การที่หุ่นยนต์จะทำงานหรือเคลื่อนที่ได้จะต้องอาศัยทักษะและความรู้จากคนอยู่ดี ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการป้อนโปรแกรมคำสั่งต่างๆ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ เราจึงต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์

          ในตอนแรกนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้าย ให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์กันไว้เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปในตอนหน้า สำหรับองค์ประกอบของระบบในการควบคุมหุ่นยนต์ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก คือ

-        Programming Pendent : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนคำสั่งโดยผู้ควบคุมหรือ User

-        Controller : ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งจาก User ผ่าน Programming Pendant และนำมาประมาณผล เพื่อทำการควบคุมหรือสั่งการทำงานของหุ่นยนต์

-        Manipulator : เรียกง่ายๆ ว่า ตัวหุ่นยนต์ ที่จะทำงานตามคำสั่งที่ผ่านการประมวลผลจาก Controller


ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์มาทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ  มีดังนี้

1.          -    หุ่นยนต์มีความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการทำงาน 

2.          -    หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานในกระบวนการซ้ำๆ ได้

3.          -    หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานได้หลากหลาย 

4.       -       หุ่นยนต์สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม

-            -    Difficult (งานหนัก)      

-            -    Dirty (งานสกปรก)   

-            -    Dangerous (งานอันตราย)


ประเภทหุ่นยนต์ ในอุตสาหกรรม (Industrial Robot)

          ในอุตสาหกรรมการผลิต หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีบทบาทในการช่วยงานร่วมกับมนุษย์อยู่มาก โดยแต่ละอุตสาหกรรม ก็จะมีหุ่นยนต์แต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่ ไปจนถึงหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ซึ่งโดยทั่วไป เราสามารถแบ่งประเภทของหุ่นยนต์ตามการใช้งานได้ 5 ประเภท ดังนี้ 


          Cartesian  เป็นหุ่นยนต์ที่แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง มีความแข็งแรง และมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์ประเภทอื่น  ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหรือขาเป็นแบบอื่น เรียกว่า ชนิด Cartesian นิยมใช้ในการหยิบจับเพื่อทำการประกอบ เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือติดชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยสารเคมี เนื่องจากโครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดแนวการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานเคลื่อนย้ายของหนัก ๆ หรือเรียกว่างาน Pick-and-Place เช่นใช้โหลดชิ้นงานเข้าเครื่องจักร (Machine loading) ,ใช้จัดเก็บชิ้นงาน (Stacking) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานประกอบ (Assembly) ที่ไม่ต้องการเข้าถึงในลักษณะที่มีมุมหมุน เช่น ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงาน Test ต่าง ๆ

ข้อดี :

1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ เข้าใจง่าย

2. โครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่

ข้อเสีย :

1. ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้ง

2. บริเวณที่หุ่นยนต์สามารถเข้าไปทำงานได้ จะมีขนาดเล็กกว่าตัวหุ่นยนต์

3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุทางด้านล่างได้


          Cylindrical หุ่นยนต์ที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวคล้าย  Cartesian แต่มีความแตกต่างกันอยู่ที่ตัวฐานของหุ่นจะเป็นการหมุนรอบแกน แทนการเคลื่อนที่แบบเคลื่อนเข้าเลื่อนออก โดยทั่วไป Cylindrical Robot ใช้ในการหยิบยกชิ้นงาน  (Pick-and-Place) ขนย้ายสิ่งของ งานเชื่อม รวมถึงงานประกอบต่าง ๆ  ที่เป็นงานที่มีความซับซ้อนต่ำ เน้นการทำงานที่รวดเร็ว เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าออกบริเวณที่เป็นช่องโพรงเล็ก ๆ ได้สะดวก 

ข้อดี :

1. ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ไม่ซับซ้อน

2. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด – ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC

ข้อเสีย :

1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด

2. ไม่สามารถหมุน (Rotation) ในลักษณะมุมต่างๆ ได้


          SCARA หรือ Selective Compliance Assembly Robot Arm เป็นหุ่นยนต์ที่มีการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด โดยหุ่นยนต์ SCARA จะสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง จึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ต้องการความรวดเร็วในการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) งานตรวจสอบ (Inspection) และงานบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

ข้อดี :

1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว

2. มีความแม่นยำสูง

ข้อเสีย :

1. มีพื้นที่ทำงานที่จำกัด

2. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก


          Polar   หรือที่เรียกว่า Spherical Robot คือหุ่นยนต์ที่มีแนวการเคลื่อนที่เป็นการหมุนสองจุด คือส่วนฐานและส่วนไหล่ของหุ่นยนต์ และส่วนมือจับสามารถยืดหดได้ หุ่นยนต์ประเภทนี้สามารถทำงานประเภทหยิบจับชิ้นงาน รวมถึงงานเชื่อมรูปแบบต่าง ๆ ได้ดี เหมาะกับการใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Vertical) เพียงเล็กน้อย เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าออกจากเครื่องปั้ม (Press) หรืออาจจะใช้งานเชื่อมจุด (Spot Welding)

ข้อดี :

1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นจากการหมุนของแกนที่ 2 (ไหล่)

2. สามารถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก

ข้อเสีย :

1.การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อน


          Articulated (Jointed Arm) ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสี งาน Sealing เป็นต้น

ข้อดี :

1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่าง ๆ 

2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำได้

3. มีพื้นที่การทำงานมาก

4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง

5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ในการขับเคลื่อน

ข้อเสีย :

1. ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้ง

2. บริเวณที่หุ่นยนต์สามารถเข้าไปทำงานได้ จะมีขนาดเล็กกว่าตัวหุ่นยนต์

3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุทางข้างใต้ได้


2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์


Automotive Robotics แขนกลอัจฉริยะสำหรับการผลิตรถยนต์

        ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือผลิตสินค้าไม่ทัน จึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั้นก็คือ หุ่นยนต์ Automotive Robotics สำหรับการผลิตรถยนต์ที่ต้องทำงานตลอดเวลา และต้องการความแม่นยำ บทความนี้จึงขอนำเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ มาให้คุณได้อ่านกันอย่างเพลินๆ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม Articulated Arm

        ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน

ตัวอย่างการใช้งานในการผลิตรถยนต์

        กระบวนการผลิตรถยนต์มีชิ้นส่วนนับหมื่นชิ้นที่ใช้ในการผลิต มีทั้งที่ใช้แรงงานคนและหุ่นยนต์ทำงานแทนในพื้นที่อันตรายหรือต้องการความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า จากนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์ที่ทำงาน

งานเชื่อม

        ส่วนนี้จะใช้หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่มีสามารถรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้เชื่อมชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนหุ่นยนต์ขนาดเล็กจะใช้เชื่อมชิ้นส่วนขนาดเล็ก เช่น ตัวยึด

งานประกอบชิ้นส่วน

        หุ่นยนต์ที่ใช้ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ เช่น การติดตั้งกระจกหน้ารถ การติดตั้งล้อ งานเหล่านี้สามารถใช้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทาสี การเคลือบสี

        งานพ่นสีหรืองานเคลือบสีต้องมีความสม่ำเสมอในการพ่น เพื่อให้ชิ้นส่วนออกมาสมบรูณ์ และยังต้องคำนึงถึงปริมาณสารที่ใช้ไม่ให้เกิดการสิ้นเปลืองจนเกินไป งานเหล่านี้จึงให้หุ่นยนต์เข้ามาทำแทน เนื่องจากสามารถกำหนดปริมาณสารได้และทำงานได้อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้


 


 

3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด



          ทดสอบหุ่นยนต์เพื่อทดสอบสมรรถนะของหุ่นยนต์ ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐาน American Society for Testing and Materials หรือ ASTM International ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำหนดและจัดทำมาตรฐาน ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยสนามทดสอบยานภาคพื้นไร้คนขับ จำลองลักษณะพื้นที่การปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่จำกัดและมีสภาพพื้นผิวที่จำลองให้ใกล้เคียงกับพื้นคอนกรีตที่มีฝุ่นปกคลุม โดยสามารถทำการทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะการเคลื่อนที่ (Mobility Performance)
ได้แก่ 1) การเคลื่อนที่ผ่านภูมิประเทศ 2) การเคลื่อนที่ข้ามสิ่งกีดขวาง และ 3) การทดสอบเพื่อประเมินผู้ควบคุมกับยานภาคพื้นไร้คนขับ โดยสนามทดสอบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทดสอบยานภาคพื้นไร้คนขับ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานการทดสอบ เพื่อเป็นการยืนยันและรับประกันถึงคุณภาพและสมรรถนะของผลงานวิจัยด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดของ สทป. สร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้กับหน่วยผู้ใช้ ในการนำหุ่นยนต์ไปปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้ทุกภารกิจ

 



 


 

4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ



          หลายคนอาจจะเคยได้ยินในชื่อ “Robovac” ที่ย่อมาจากชื่อเต็มๆว่า Robotic Vacuum Cleaner ซึ่งมันจัดอยู่ในประเภทหุ่นยนต์อัจฉริยะ ที่ถูกวางโปรแกรมให้มีคุณสมบัติเหมือนเครื่องดูดฝุ่นหรืออาจจะล้ำสมัยกว่าเครื่องดูดฝุ่นด้วยซ้ำไป (ขึ้นอยู่กับแบรนด์และความสามารถที่แตกต่างของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนใหญ่ที่เห็นได้ตามท้องตลาด ก็จะมีทั้งแบบสั่งการผ่านรีโมท และแบบ Self-drive ที่หุ่นยนต์สามารถดูแลความสะอาดได้เอง โดยที่เราไม่ต้องควบคุมหรือคอยสั่งการ นอกจากนี้ ในเรื่องของดีไซน์และฟีเจอร์ต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวก็เป็นทรงกลม แต่บางตัวก็เป็นทรงเหลี่ยม หรือบางตัวอาจจะมีฟีเจอร์พิเศษ (เช่น กวาดพื้น) ในขณะที่บางตัวไม่มี

 


Travelmate Robotics หุ่นยนต์กระเป๋าอัจฉริยะ

          หุ่นยนต์กระเป๋าสุดแสนอัจฉริยะที่เดินตามคุณไปทุกทีโดยไม่มีบ่น เป็นเทคโนโลยี AI ที่ทำให้ชีวิตประจำวันของคุณง่ายขึ้น สามารถเดินตามคุณไปได้ทุกที่แม้มีฝูงชนแน่นหนา ทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟน โดยใช้ แอพพลิเคชั่น Travelmate เพื่อติดตามและระบุตำแหน่งที่คุณอยู่เพื่อให้เจ้ากระเป๋าอัจฉริยะตามตัวคุณได้ และตัวกระเป๋าเองมีระบบ GPS ฝังอยู่เพื่อป้องกันกระเป๋าสูญหาย มี 3 ขนาด S M L ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

 


Grillbot หุ่นยนต์ทำความสะอาดเตาอัตโนมัติ

          การทำงานของมันแสนง่ายดายเพียงแค่รอให้เตาปิ้งย่างบาร์บีคิวของคุณเย็นลง แล้วกดปุ่มบนตัวเครื่อง เจ้า Grillbot ก็จะทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดอยู่บนเตา เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเสียแรงเสียเวลานั่งขัดเตาของคุณแล้ว



FoldiMate เครื่องพับผ้าอัตโนมัติ

          เจ้าเครื่องพับผ้าอัตโนมัติที่ใช้งานง่ายเพียงแค่วางผ้าข้างบนเครื่องให้ตรงตำแหน่ง และเครื่องจะส่งผ้าผ่านกลไกของเครื่องลงมาเป็นผ้าที่ถูกพับเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ซึ่งสามารุใช้งานได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก หมดปัญหาผ้ายับอีกต่อไป



Moley หุ่นยนต์ทำอาหาร

          ด้วยรูปร่างของหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นแขน 2 ข้างใช้ทำงานเลียนแบบมนุษย์ ผู้ใช้งานเพียงแค่ป้อนข้อมูลเมนูอาหารที่ต้องการเข้าไปในระบบ หุ่นยนต์จะทำการปรุงอาหารโดยอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็เตรียมรับอาหารฝีมือระดับเชฟได้เลย และนอกจากปรุงอาหารแล้วเจ้าหุ่นยนต์ Moley ยังสามารถล้างจานได้อีกด้วยนะ



Pillo หุ่นยนต์คุณหมออัจฉริยะ

          ไม่ต้องกลัวลืมกินยาอีกต่อไปเมื่อมีผู้ช่วยอัจฉริยะด้านสุขภาพที่เปรียบเสมือนคุณหมอประจำบ้าน คอยเตือนความจำและจ่ายยาให้คุณ อีกทั้งยังสามารถตอบคำถามเรื่องสุขภาพ ยา วิตามิน ทำให้คุณไม่ต้องเสียเวลาเข้า google อีกต่อไป



Temi ผู้ช่วยอัจฉริยะ

          หุ่นยนต์ที่มาพร้อมหน้าจอแท็บเล็ตทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อบ้านแม่บ้านส่วนตัวช่วยจัดการชีวิตทั้งยังอำนวยความสะดวกสบายให้สมาชิกในบ้าน ทำให้สมาชิกในบ้านใช้ชีวิตง่ายขึ้น



BratWurst Bot หุ่นยนต์ปิ้งไส้กรอก

          ในงานเลี้ยงสำคัญในกรุงเบอร์ลินเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้โชว์ฝีมือ ย่างไส้กรอกให้แขกผู้มาร่วมงานถึง 200 ชิ้นโดยไม่มีคนช่วยแม้แต่คนเดียว หากต้องการไส้กรอกสามารถสั่งได้ผ่านหน้าจอแท็บเล็ตที่อยู่ข้างหน้าเครื่อง ซึ่งระบบจะทำงานผ่านกล้อง RGB และซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาให้ดูสีไส้กรอกให้ได้ความสุกที่ลงตัว



Kobi หุ่นยนต์ดูแลสนามหญ้า

          หุ่นยนต์ kobi ช่วยดูแลและบำรุงรักษาสนามหญ้าหน้าบ้านของคุณให้สะอาดน่ามองอยู่ตลอดเวลา ควบคุมการทำงานผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และสมารถวิ่งไปที่สถานีชาร์จพลังงานเองได้เมื่อพลังงานใกล้จะหมด



Ohea smart bed เตียงนอนสุดอัจฉริยะ

          เตียงนอนที่ถูกสร้างมาเพื่อคนขี้เกียจโดยเฉพาะ เพราะเพียงแค่กดปุ่มคำสั่ง เจ้าเตียงอัจฉริยะจะทำงานเองโดยจัดเก็บเตียงของคุณให้กลับมาเนี้ยบเพียงแค่ 60 วินาที



Winbot ทำความสะอาดหน้าต่างอัตโนมัติ

          ด้วยระบบทำความสะอาดแบบไร้รอยขีดข่วนและเข้าได้ทุกซอกมุม ใช้รีโมทควบคุมการทำงานมีแบตสำรองในตัวหากเกิดปัญหาแบตเตอรี่หมดกลางคัน มาพร้อมตัวยึดและสายรัดเพื่อป้องกันการตกจากหน้าต่าง ช่วยให้คุณปลอดภัยเมื่อต้องทำความสะอาดกระจกสูงๆ บอกลาบันไดไปได้เลย

 

          การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันนั้นช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์มากมายทั้งประหยัดแรงและเวลา ลดค่าใช้จ่าย ลดการบกพร่องของงาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย เพราะการเลือกใช้แรงงานหุ่นยนต์นั้นทำให้การจ้างแรงงานมนุษย์งลดลง ส่งผลให้มีผู้ว่างงานเพิ่มจำนวนมากอาจสร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนมนุษย์ จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมอย่าพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นหุ่นยนต์เหล่านี้อาจจะมาแทนที่งานประจำของมนุษย์ก็เป็นได้

 

 


  ระบบลำเลียง ( Conveyor System ) คืออะไร ?           ระบบลำเลียง ( Conveyor System ) คือ ระบบการขนส่งที่ประกอบด้วยเครื่องกลที่สามารถเคลื่...