ระบบลำเลียง (Conveyor System ) คืออะไร ?
ระบบลำเลียง
(Conveyor System ) คือ
ระบบการขนส่งที่ประกอบด้วยเครื่องกลที่สามารถเคลื่อนย้ายวัสดุจากสถานที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลาย
ชนิด เช่น อาหาร หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่น ๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ
ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ LINE ที่มีความยาว
หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต
ระบบลำเลียงสินค้าเปรียบเสมือนระบบประสาทส่วนกลางสำหรับการดำเนินงานของคุณ
ซึ่งใช้อย่างแพร่หลายในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็น อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมขวด อุตสาหกรรมบรรจุหีบห่อ
อุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมแช่เยือกเข็ง อุตสาหกรรมกระดาษลูกฟูก ระบบลำเลียง (Conveyor System) มีประโยชน์มากในการขนส่งวัสดุที่มีปริมาณมาก
หรือขนาดใหญ่ ระบบลำเลียง (Conveyor System) ช่วยให้ระบบการขนส่งรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เพราะหากระบบลำเลียงทำงานไม่ได้ประสิทธิภาพ ส่วนงานอื่นๆ
ก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นเดียวกัน
ดังนั้นระบบลำเลียงจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมากในวงการอุตสาหกรรมไทยของเรา
จุดมุ่งหมายหลักของระบบสายพานลำเลียง คือ ช่วยในกระบวนการต่างๆ ให้มีความคล่องตัวมากขึ้น
และลดต้นทุนในธุรกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวกับการขนส่ง จัดการจัดเก็บ
การผลิตหรือการกระจายสินค้าการออกแบบระบบลำเลียงที่ดี
ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์อย่างมากเพื่อปรับให้ตรงตามความต้องการของธุรกิจนั้น
ประเภทของระบบลำเลียง (Conveyor
System )
ระบบลำเลียง (Conveyor System) แบ่งได้เป็น 5 ประเภทหลักๆ คือ
1. สายพานลำเลียง (Belt conveyor)
2. ลูกกลิ้งลำเลียง (Roller conveyor)
3. สกรูลำเลียง (Screw conveyor)
4. โซ่ลำเลียง (Chain conveyor)
5. กระพ้อลำเลียง (Bucket conveyor)
ระบบลูกกลิ้งลำเลียง Roller Conveyor System
ระบบลูกกลิ้งลำเลียง
Roller Conveyor System คือ เป็นระบบลูกกลิ้งที่เป็นตัวพาชิ้นงาน
อุปกรณ์ลำเลียง (Conveyor) ใช้ลำเลียงในแนวราบทางตรงหรือทางโค้ง
มีลูกกลิ้ง (roller) เป็นตัวขับเคลื่อนให้ชิ้นงานเคลื่อนที่ สามารถทนรับน้ำหนักได้ดี
ดังนั้น ระบบลูกกลิ้งลำเลียงเป็นตัวพาชิ้นงานจึงเหมาะสำหรับ โรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท
ที่ใช้ในกระบวนเคลื่อนย้ายชิ้นงาน
เป็นการลำเลียงที่ใช้ลูกกลิ้งในการทำงานเป็นหลัก
มีวัสดุของลูกกลิ้งให้เลือกใช้ตามแต่ความเหมาะสมอุตสาหกรรม และ โครงสร้าง
สามารถแบ่งออกเป็น
-
Roller Rack
เป็นลูกโรลเลอร์ที่ใช้กับชั้นวางสินค้า การทำงานเหมือนกับ Free
Roller ไม่มีกลไกในตัวลูกโรลเลอร์
ใช้แรงโน้มถ่วงในการเคลื่อนที่ของพาเลท
-
Fix Drive Roller
เป็นลูกโรลเลอร์ที่ใช้มอเตอร์ขับเฟืองโซ่หรือสายพานเพื่อให้ลูกโรลเลอร์มีกำลังขับเคลื่อนพาเลท
-
Power Drive Roller
เป็นลูกกโรลเลอร์ที่มีกลไกมอเตอร์ในตัวเอง ควบคุมผ่านโปรแกรม
ไม่ต้องใช้มอเตอร์ภายนอกในการขับเคลื่อน
- Free Roller ไม่มีกลไกในตัวลูกโรลเลอร์ ใช้แรงโน้มถ่วงหรือแรงดันในการเคลื่อนที่ของพาเลท
คุณสมบัติ และ วัตถุประสงค์การใช้งาน
เหมาะแก่สินค้าที่มีพื้นผิวส่วนสัมผัสกับลูกกลิ้ง
ลักษณะ เรียบ
1.
สามารถรับน้ำหนัก
2.
สามารถลำเลียง(ความเร็ว)
3.
สามารถทนทานอุณหภูมิตั้งแต่
4. เหมาะแก่ลำเลียงสินค้าระยะทางสั้นๆ
อุตสาหกรรมที่นิยมใช้
1.
สิ่งพิมพ์
2.
ชิ้นส่วนรถยนต์
3.
เฟอร์นิเจอร์
4.
อาหารและเครื่องดื่ม
5.
เครื่องใช้ไฟฟ้า
ระบบลำเลียงแบบสายพาน (Belt Conveyor)
ระบบลำเลียงแบบนี้จะใช้ สายพาน ในการลำเลียง โดยมีวัสดุของสายพาน(พื้นที่รองรับสินค้า) ให้เลือกใช้ตามแต่ความเหมาะสมอุตสาหกรรม และ โครงสร้าง ซึ่งมีคุณสมบัติต่างกันไปเช่น ความทนทานสูง สามารถทนแรงเสียดทานสูง , สามารถทนอุณหภูมิสูงหรือต่ำ, สามารถทนความชื้น, สามารถทนน้ำมัน, และ สามารถทนสารเคมี เป็นต้น
ระบบลำเลียงแบบสายพานที่มีประสิทธิภาพสูงถูกออกแบบมาสำหรับผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น อาหาร หรือ สินค้าที่มีน้ำหนักเบาอื่น ๆ สายพานประเภทนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ทั้งระบบอัตโนมัติ เหมาะสำหรับ ส่วนการผลิตที่มีความยาว หรือสำหรับการเชื่อมต่อระหว่างกระบวนการต่าง ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต อาทิเช่น การคัดคุณภาพ การแปรรูป เป็นต้น
คุณสมบัติ และ วัตถุประสงค์การใช้งาน
1. เหมาะแก่สินค้าที่
2. สามารถรับน้ำหนัก
3. สามารถลำเลียง(ความเร็ว)
4. สามารถทนทานอุณหภูมิตั้งแต่
5. เหมาะแก่ลำเลียงสินค้าระยะทาง
อุตสาหกรรมที่นิยมใช้
1. สิ่งพิมพ์
2. ชิ้นส่วนรถยนต์
3. เฟอร์นิเจอร์
4. อาหารและเครื่องดื่ม
5. เครื่องใช้ไฟฟ้า
ระบบลำเลียงแบบโซ่ (Chain Conveyor)
ระบบลำเลียงแบบโซ่จะใช้เป็นหลักในการขนส่งสินค้า
หรือ วัสดุ ต่างๆ ได้ ที่มี น้ำหนักมาก ส่วนมากเป็นระบบไฮดรอลิกซึ่งสามารถ
ปรับระดับความสูงได้หลายระดับ
ส่วนใหญ่มีลักษณะด้านบนเป็นแผ่นเรียบเหมือนโต๊ะสำหรับวางของหรือสินค้า เช่น
แท่นวางสินค้า(พาเลท), กล่องแบบตารางเมตร
และภาชนะบรรจุอุตสาหกรรม สายพานเหล่านี้มีแบ่งเป็น ห่วงโซ่เดี่ยว หรือ ห่วงโซ่คู่
ในการเลือกใช้ตามความเหมาะสมในโครงสร้างและอุตสาหกรรมนั้นๆ
ภาคอุตสาหกรรมจำนวนมากใช้เทคโนโลยีระบบสายพานลำเลียงแบบโซ่ในสายการผลิตของลูกค้า
เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วไปใช้ระบบสายพานลำเลียงแบบโซ่การถ่ายทอดชิ้นส่วนรถยนต์เพื่อลำเลียงเข้าโรงพ่นสี
เป็นต้น
คุณสมบัติ
และ วัตถุประสงค์การใช้งาน
1.
เหมาะแก่สินค้าที่
2.
สามารถรับน้ำหนัก
3.
สามารถลำเลียง(ความเร็ว)
4.
สามารถทนทานอุณหภูมิตั้งแต่
5. เหมาะแก่ลำเลียงสินค้าระยะทาง
อุตสาหกรรมที่นิยมใช้
1.
สิ่งพิมพ์
2.
ชิ้นส่วนรถยนต์
3.
เฟอร์นิเจอร์
4.
อาหารและเครื่องดื่ม
5.
เครื่องใช้ไฟฟ้า
รถ AGV คืออะไร ?
Automated
guided vehicle systems (AGV) หมายถึง
อุปกรณ์ประเภท AGV มีลักษณะคล้ายอุปกรณ์ประเภท Industrial
Truck แตกต่างที่ AGV ถูกควบคุมโดยคอมพิวเตอร์
และถูกกำหนดเส้นทางการเดินทางที่ชัดเจน ไม่ต้องใช้คนขับ การเลือกใช้อุปกรณ์ประเภท AGV
มักต้องลงทุนสูง ทั้งค่าคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม
การใช้งานรถ AGV
เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อระบบ สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
1) การเพิ่มจำนวนของรถ AGV
2) การเพิ่มความเร็วของรถ AGV
3) การเปลี่ยนแปลงวิธีการวิ่งของรถ AGV จากทิศทางเดียวเป็น
2 ทิศทาง
4) การเพิ่มความจุของรถ AGV
การควบคุมการจราจรและความปลอดภัย
1.วิธีตรวจจับรถที่อยู่ข้างหน้า (On-Board
Vehicle Sensing หรือ Forward Sensing)
2.วิธีการโซน (Zone Blocking)
-กันชนฉุกเฉิน
-สัญญาณเตือน
-ระบบหยุดเมื่อออกนอกเส้นทาง
การบริหารระบบ
1. ควบคุมจากแผงควบคุมที่อยู่บน AGV
(On-Board Control Panel)
2. เรียกจากสถานีที่อยู่ห่างไกล
(Remote Call Station)
3. ควบคุมโดยคอมพิวเตอร์ศูนย์กลาง (Central Computer Control)
agv driver train
AGV Pallet Truck
AGV Unit Load Carrier
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น