13 มีนาคม 2565

 

หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม

1. หุ่นยนต์ที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม


  ในปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมการผลิต มีการแข่งขันที่เพิ่มขึ้น การเกิดตลาดใหม่ การเพิ่มขึ้นของคู่แข่งในภูมิภาค และประเทศคู่แข่งทางการผลิตที่มีความพร้อมของค่าจ้างแรงงาน สร้างผลกระทบต่อผู้รับจ้างผลิตของไทย ทั้งด้านต้นทุน คุณภาพ และความสามารถในการผลิต ซึ่งทำให้รูปแบบการผลิตที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยน เพื่อเพิ่มความสามารถการแข่งขันกับคู่แข่งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และสายการผลิตแบบอัตโนมัตินั้นได้มีการใช้งานกันในระบบการผลิตของภาคอุตสาหกรรมเป็นปกติอยู่แล้ว แต่มักเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่หรือมาจากการย้ายฐานหรือเทคโนโลยีการผลิตแบบอัตโนมัติมาพร้อมกับการเริ่มต้นธุรกิจ




สถานการณ์ปัจจุบันกับการเปลี่ยนแปลง

     ในปัจจุบันระบบการผลิตแบบอัตโนมัติได้มีการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพ และมีราคาที่ผู้ประกอบการผลิตอุตสาหกรรม ขนาดกลางและเล็กสามารถเข้าถึงและใช้งานได้ และมีโซลูชั่นมากมายหลายรูปแบบ แต่การเลือกระบบอัตโนมัติ มิได้พิจารณาเฉพาะด้านต้นทุน คุณภาพ และความสามารถในการผลิต ยังมีปัจจัยเรื่องความยากง่ายในการใช้งาน การอัพเกรด การซ่อมบำรุง การใช้พลังงาน ตัวบุคลากรผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งาน เกิดความยากในการตัดสินใจเลือกใช้งาน และกังวลต่อประสิทธิภาพ หรืออาจมองไม่ครอบคลุม การพิจารณาที่ราคาต่ำอย่างเดียวจึงกลายเป็นอุปสรรคในการแข่งขันเพราะระบบที่เลือกไม่เหมาะสม



          นอกจากเทคโนโลยีอัตโนมัติแล้ว หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ถือเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ระบบอัตโนมัติเพื่อการผลิต และเป็นหนึ่งในวิธีการเพิ่มความสามารถในการผลิต ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการผลิตในภาคอุตสาหกรรมให้ความสนใจในการปรับเปลี่ยนระบบอัตโนมัติเดิมมาเป็นการใช้หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นหนึ่งในสายการผลิต ซึ่งจากการคาดการณ์ ของ IFR (International Federation of Robotics) ยอดขายหุ่นยนต์ทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 6% โดยเฉลี่ยต่อปี จาก ปี พ.ศ.2557 ถึง ปี พ.ศ. 2559 และในปีต่อๆ ไปอย่างต่อเนื่อง และนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจะเริ่มเข้ามามีบทบาทเป็นอย่างมากในกระบวนการผลิต เราในฐานะแรงงานที่ต้องรับผลกระทบโดยตรงจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ผู้เขียนจึงขอนำเสนอข้อมูลความรู้ขึ้นพื้นฐานเกี่ยวกับหุนยนต์ในงานอุตสาหกรมเพื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจและสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          หุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติอีกรูปแบบหนึ่งที่ถูกออกแบบและสร้างมาเพื่อนำมาใช้ทดแทนคนในกระบวนการผลิตต่างๆ หรือนำมาใช้เพื่อช่วยในกระบวนการผลิตในลักษณะหุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน ซึ่งหุ่นยนต์ที่ถูกสร้างมานั้นมีหลากหลายชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ต้องการนำมา       ประยุกต์ใช้งาน สำหรับหุ่นยนต์ในงานอุตสาหกรรมนั้นสามารถแบ่งออกได้ ตามลักษณะการทำงาน ได้ 7 ชนิด ดังนี้

-                Cartesian Robot

-           -      Cylindrical Robot

-            -    Polar Coordinate Robot

-           -     Scalar Robot

-            -    Articulate Robot

-            -    Spine Robot

-             -    Parallel link Robot

          หุ่นยนต์อุตสาหกรรม ทั้ง 7 ชนิดที่กล่าวมาข้างต้นนั้น จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะการเคลื่อนที่และความสามารถในการทำงานที่ไม่เหมือนกัน รวมไปถึงการประยุกต์ใช้งานที่ต่างกันด้วยแต่ทั้งหมดถูกสร้างขึ้นมาด้วยหลักการพื้นฐานเดียวกัน ในที่นี้ผู้เขียนจะขอกล่าวถึงเฉพาะส่วนของหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด นั่นคือ Articulate Robot อันเนื่องมาจากหุ่นยนต์ชนิดนี้มีความสามารถในการทำงานและสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบมากกว่าขนิดอื่นๆ นั่นเอง

Articulate Robot เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับแขนของมนุษย์ตั้งแต่ช่วงหัวไหล่ไหลลงไป นั้นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ จะมีความสามารถในการทำงานและความสามารถในการเคลื่อนที่ได้ในลักษณะที่คล้ายกับการเคลื่อนที่ของแขนมนุษย์นั่นเอง หลายๆ คนจึงมักเรียกหุ่นยนต์ชนิดนี้ว่า ‘แขนกล’


รูปที่ 1 : แสดงลักษณะ Articulate Robot หรือ แขนกล

          จากรูปที่ 1 ที่แสดงด้านบนนั้นเป็นลักษณะของ Articulate Robot หรือที่เรียกกันว่า แขนกล จะเห็นได้ว่ามีโครงสร้างที่คล้ายคลึงกับของของมนุษย์ ซึ่งนั่นหมายความว่าหุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการหยิบจับชิ้นงานในกระบวนการผลิต แต่ในปัจจุบันนี้หุ่นยนต์ชนิดนี้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานให้มีความสามารถมากกว่าทำงานใช้หยิบจับชิ้นงาน ไม่ว่าจะเป็นการประยุกต์ใช้ในกระบวนการงานเชื่อมโลหะต่างๆ งานพ่นสี หรืองาน Spot Gun และบางองค์กรยังมีการพัฒนาให้หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถทำงานในกระบวน Machining อีกด้วย จากตัวอย่างการประยุกต์ใช้งานข้างต้น จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์จะถูกนำมาใช้งานทดคนนั่นเป็นเรื่องจริงเลยทีเดียว ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์เพื่อนำมาทำงานทดแทนคนก็เพราะหุ่นยนต์มีสิ่งที่ไม่เหมือนคน ดังนี้

          หุ่นยนต์มีความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการทำงาน

          หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานในกระบวนซ้ำๆ ได้ดีกว่า

          หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานได้หลากหลาย

          หุ่นยนต์สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม



          จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นล้วนเป็นข้อดีของหุ่นยนต์ที่จะถูกนำมาใช้งานทดแทนคน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะดีไม่กว่าคนเสียทั้งหมด แน่นอนว่าหุ่นยนต์ก็คือเหล็กที่ถูกนำมาประกอบเข้าด้วยกันและใส่กลไกต่างๆ ให้สามารถเคลื่อนที่ได้ อีกทั้ง ยังต้องมีระบบในการควบคุบการทำงาน ดังนั้น การที่หุ่นยนต์จะทำงานหรือเคลื่อนที่ได้จะต้องอาศัยทักษะและความรู้จากคนอยู่ดี ทั้งนี้ เพื่อทำหน้าที่ในการป้อนโปรแกรมคำสั่งต่างๆ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ตามที่มนุษย์ต้องการ เราจึงต้องมีการเตรียมพร้อมเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

องค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์

          ในตอนแรกนี้ผู้เขียนขอทิ้งท้าย ให้ทุกท่านทราบเกี่ยวกับองค์ประกอบของระบบควบคุมหุ่นยนต์กันไว้เพื่อที่จะได้เตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปในตอนหน้า สำหรับองค์ประกอบของระบบในการควบคุมหุ่นยนต์ประกอบด้วย องค์ประกอบหลัก คือ

-        Programming Pendent : อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการป้อนคำสั่งโดยผู้ควบคุมหรือ User

-        Controller : ส่วนที่ทำหน้าที่ในการรับคำสั่งจาก User ผ่าน Programming Pendant และนำมาประมาณผล เพื่อทำการควบคุมหรือสั่งการทำงานของหุ่นยนต์

-        Manipulator : เรียกง่ายๆ ว่า ตัวหุ่นยนต์ ที่จะทำงานตามคำสั่งที่ผ่านการประมวลผลจาก Controller


ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์มาทำงานเพื่อให้มีประสิทธิภาพ  มีดังนี้

1.          -    หุ่นยนต์มีความแม่นยำและความเที่ยงตรงในการทำงาน 

2.          -    หุ่นยนต์มีความสามารถในการทำงานในกระบวนการซ้ำๆ ได้

3.          -    หุ่นยนต์สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบกระบวนการทำงานได้หลากหลาย 

4.       -       หุ่นยนต์สามารถประยุกต์ใช้งานได้ในหลากหลายสภาพแวดล้อม

-            -    Difficult (งานหนัก)      

-            -    Dirty (งานสกปรก)   

-            -    Dangerous (งานอันตราย)


ประเภทหุ่นยนต์ ในอุตสาหกรรม (Industrial Robot)

          ในอุตสาหกรรมการผลิต หุ่นยนต์อุตสาหกรรมมีบทบาทในการช่วยงานร่วมกับมนุษย์อยู่มาก โดยแต่ละอุตสาหกรรม ก็จะมีหุ่นยนต์แต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นหุ่นยนต์ที่มีขนาดใหญ่ ไปจนถึงหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว ซึ่งโดยทั่วไป เราสามารถแบ่งประเภทของหุ่นยนต์ตามการใช้งานได้ 5 ประเภท ดังนี้ 


          Cartesian  เป็นหุ่นยนต์ที่แกนทั้ง 3 ของหุ่นยนต์จะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรง มีความแข็งแรง และมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับหุ่นยนต์ประเภทอื่น  ถ้าโครงสร้างมีลักษณะคล้าย Overhead Crane จะเรียกว่าเป็นหุ่นยนต์ชนิด Gantry แต่ถ้าหุ่นยนต์ไม่มีขาตั้งหรือขาเป็นแบบอื่น เรียกว่า ชนิด Cartesian นิยมใช้ในการหยิบจับเพื่อทำการประกอบ เช่น การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ หรือติดชิ้นส่วนยานยนต์ด้วยสารเคมี เนื่องจากโครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดแนวการเคลื่อนที่ ดังนั้นจึงเหมาะกับงานเคลื่อนย้ายของหนัก ๆ หรือเรียกว่างาน Pick-and-Place เช่นใช้โหลดชิ้นงานเข้าเครื่องจักร (Machine loading) ,ใช้จัดเก็บชิ้นงาน (Stacking) นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในงานประกอบ (Assembly) ที่ไม่ต้องการเข้าถึงในลักษณะที่มีมุมหมุน เช่น ประกอบอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และงาน Test ต่าง ๆ

ข้อดี :

1. เคลื่อนที่เป็นแนวเส้นตรงทั้ง 3 มิติ เข้าใจง่าย

2. โครงสร้างมีความแข็งแรงตลอดการเคลื่อนที่

ข้อเสีย :

1. ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้ง

2. บริเวณที่หุ่นยนต์สามารถเข้าไปทำงานได้ จะมีขนาดเล็กกว่าตัวหุ่นยนต์

3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุทางด้านล่างได้


          Cylindrical หุ่นยนต์ที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวคล้าย  Cartesian แต่มีความแตกต่างกันอยู่ที่ตัวฐานของหุ่นจะเป็นการหมุนรอบแกน แทนการเคลื่อนที่แบบเคลื่อนเข้าเลื่อนออก โดยทั่วไป Cylindrical Robot ใช้ในการหยิบยกชิ้นงาน  (Pick-and-Place) ขนย้ายสิ่งของ งานเชื่อม รวมถึงงานประกอบต่าง ๆ  ที่เป็นงานที่มีความซับซ้อนต่ำ เน้นการทำงานที่รวดเร็ว เพราะสามารถเคลื่อนที่เข้าออกบริเวณที่เป็นช่องโพรงเล็ก ๆ ได้สะดวก 

ข้อดี :

1. ส่วนประกอบของหุ่นยนต์ไม่ซับซ้อน

2. สามารถเข้าถึงเครื่องจักรที่มีการเปิด – ปิด หรือเข้าไปในบริเวณที่เป็นช่องหรือโพรงได้ง่าย (Loading) เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าเครื่อง CNC

ข้อเสีย :

1. มีพื้นที่ทำงานจำกัด

2. ไม่สามารถหมุน (Rotation) ในลักษณะมุมต่างๆ ได้


          SCARA หรือ Selective Compliance Assembly Robot Arm เป็นหุ่นยนต์ที่มีการเคลื่อนที่แบบหมุน 2 จุด โดยหุ่นยนต์ SCARA จะสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วในแนวระนาบ และมีความแม่นยำสูง จึงเหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ไม่ต้องการความรวดเร็วในการหมุนมากนัก แต่จะไม่เหมาะกับงานประกอบชิ้นส่วนทางกล (Mechanical Part) งานตรวจสอบ (Inspection) และงานบรรจุภัณฑ์ (Packaging)

ข้อดี :

1. สามารถเคลื่อนที่ในแนวระนาบ และขึ้นลงได้รวดเร็ว

2. มีความแม่นยำสูง

ข้อเสีย :

1. มีพื้นที่ทำงานที่จำกัด

2. สามารถยกน้ำหนัก (Payload) ได้ไม่มากนัก


          Polar   หรือที่เรียกว่า Spherical Robot คือหุ่นยนต์ที่มีแนวการเคลื่อนที่เป็นการหมุนสองจุด คือส่วนฐานและส่วนไหล่ของหุ่นยนต์ และส่วนมือจับสามารถยืดหดได้ หุ่นยนต์ประเภทนี้สามารถทำงานประเภทหยิบจับชิ้นงาน รวมถึงงานเชื่อมรูปแบบต่าง ๆ ได้ดี เหมาะกับการใช้ในงานที่มีการเคลื่อนที่ในแนวตั้ง (Vertical) เพียงเล็กน้อย เช่น การโหลดชิ้นงานเข้าออกจากเครื่องปั้ม (Press) หรืออาจจะใช้งานเชื่อมจุด (Spot Welding)

ข้อดี :

1. มีปริมาตรการทำงานมากขึ้นจากการหมุนของแกนที่ 2 (ไหล่)

2. สามารถที่จะก้มลงมาจับชิ้นงานบนพื้นได้สะดวก

ข้อเสีย :

1.การเคลื่อนที่และระบบควบคุมมีความซับซ้อน


          Articulated (Jointed Arm) ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน หุ่นยนต์ชนิดนี้สามารถใช้งานได้กว้างขวางเพราะสามารถเข้าถึงตำแหน่งต่างๆ ได้ดี เช่น งานเชื่อม Spot Welding, Path Welding, งานยกของ, งานตัด, งานทากาว, งานที่มีการเคลื่อนที่ยากๆ เช่น งานพ่นสี งาน Sealing เป็นต้น

ข้อดี :

1. เนื่องจากทุกแกนจะเคลื่อนที่ในลักษณะของการหมุนทำให้มีความยืดหยุ่นสูงในการเข้าไปยังจุดต่าง ๆ 

2. บริเวณข้อต่อ (Joint) สามารถ Seal เพื่อป้องกันฝุ่น ความชื้น หรือน้ำได้

3. มีพื้นที่การทำงานมาก

4. สามารถเข้าถึงชิ้นงานทั้งจากด้านบน ด้านล่าง

5. เหมาะกับการใช้มอเตอร์ไฟฟ้า ในการขับเคลื่อน

ข้อเสีย :

1. ต้องการพื้นที่ค่อนข้างมากในการติดตั้ง

2. บริเวณที่หุ่นยนต์สามารถเข้าไปทำงานได้ จะมีขนาดเล็กกว่าตัวหุ่นยนต์

3. ไม่สามารถเข้าถึงวัตถุทางข้างใต้ได้


2.หุ่นยนต์ประกอบชิ้นงานหรือชิ้นส่วน รถยนต์


Automotive Robotics แขนกลอัจฉริยะสำหรับการผลิตรถยนต์

        ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อลดปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐานหรือผลิตสินค้าไม่ทัน จึงมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย นั้นก็คือ หุ่นยนต์ Automotive Robotics สำหรับการผลิตรถยนต์ที่ต้องทำงานตลอดเวลา และต้องการความแม่นยำ บทความนี้จึงขอนำเนื้อหาเกี่ยวกับหุ่นยนต์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรมผลิตรถยนต์ มาให้คุณได้อ่านกันอย่างเพลินๆ

หุ่นยนต์อุตสาหกรรม Articulated Arm

        ทุกแกนการเคลื่อนที่จะเป็นแบบหมุน (Revolute) รูปแบบการเคลื่อนที่จะคล้ายกับแขนคน ซึ่งจะประกอบด้วยช่วงเอว ท่อนแขนบน ท่อนแขนล่าง ข้อมือ การเคลื่อนที่ทำให้ได้พื้นที่การทำงาน

ตัวอย่างการใช้งานในการผลิตรถยนต์

        กระบวนการผลิตรถยนต์มีชิ้นส่วนนับหมื่นชิ้นที่ใช้ในการผลิต มีทั้งที่ใช้แรงงานคนและหุ่นยนต์ทำงานแทนในพื้นที่อันตรายหรือต้องการความสม่ำเสมอของคุณภาพสินค้า จากนี้จะเป็นตัวอย่างการใช้หุ่นยนต์ที่ทำงาน

งานเชื่อม

        ส่วนนี้จะใช้หุ่นยนต์ขนาดใหญ่ที่มีสามารถรับน้ำหนักได้เยอะ ใช้เชื่อมชิ้นส่วนโครงสร้างตัวถังรถยนต์ที่มีขนาดใหญ่ได้ ส่วนหุ่นยนต์ขนาดเล็กจะใช้เชื่อมชิ้นส่วนขนาดเล็ก เช่น ตัวยึด

งานประกอบชิ้นส่วน

        หุ่นยนต์ที่ใช้ในส่วนนี้จะทำหน้าที่ เช่น การติดตั้งกระจกหน้ารถ การติดตั้งล้อ งานเหล่านี้สามารถใช้หุ่นยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การทาสี การเคลือบสี

        งานพ่นสีหรืองานเคลือบสีต้องมีความสม่ำเสมอในการพ่น เพื่อให้ชิ้นส่วนออกมาสมบรูณ์ และยังต้องคำนึงถึงปริมาณสารที่ใช้ไม่ให้เกิดการสิ้นเปลืองจนเกินไป งานเหล่านี้จึงให้หุ่นยนต์เข้ามาทำแทน เนื่องจากสามารถกำหนดปริมาณสารได้และทำงานได้อย่างสม่ำเสมอตามที่กำหนดไว้


 


 

3. หุ่นยนต์เก็บกู้ระเบิด



          ทดสอบหุ่นยนต์เพื่อทดสอบสมรรถนะของหุ่นยนต์ ที่สร้างขึ้นตามมาตรฐาน American Society for Testing and Materials หรือ ASTM International ซึ่งเป็นสมาคมวิชาชีพทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่กำหนดและจัดทำมาตรฐาน ซึ่งได้รับการยอมรับทั่วโลก โดยสนามทดสอบยานภาคพื้นไร้คนขับ จำลองลักษณะพื้นที่การปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ที่จำกัดและมีสภาพพื้นผิวที่จำลองให้ใกล้เคียงกับพื้นคอนกรีตที่มีฝุ่นปกคลุม โดยสามารถทำการทดสอบเพื่อประเมินสมรรถนะการเคลื่อนที่ (Mobility Performance)
ได้แก่ 1) การเคลื่อนที่ผ่านภูมิประเทศ 2) การเคลื่อนที่ข้ามสิ่งกีดขวาง และ 3) การทดสอบเพื่อประเมินผู้ควบคุมกับยานภาคพื้นไร้คนขับ โดยสนามทดสอบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ทดสอบยานภาคพื้นไร้คนขับ ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลเรื่องมาตรฐานการทดสอบ เพื่อเป็นการยืนยันและรับประกันถึงคุณภาพและสมรรถนะของผลงานวิจัยด้านหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิดของ สทป. สร้างความมั่นใจและความไว้วางใจให้กับหน่วยผู้ใช้ ในการนำหุ่นยนต์ไปปฏิบัติภารกิจอย่างเป็นรูปธรรมได้ทุกภารกิจ

 



 


 

4. หุ่นยนต์อัจฉริยะ



          หลายคนอาจจะเคยได้ยินในชื่อ “Robovac” ที่ย่อมาจากชื่อเต็มๆว่า Robotic Vacuum Cleaner ซึ่งมันจัดอยู่ในประเภทหุ่นยนต์อัจฉริยะ ที่ถูกวางโปรแกรมให้มีคุณสมบัติเหมือนเครื่องดูดฝุ่นหรืออาจจะล้ำสมัยกว่าเครื่องดูดฝุ่นด้วยซ้ำไป (ขึ้นอยู่กับแบรนด์และความสามารถที่แตกต่างของหุ่นยนต์ดูดฝุ่น)โดยหุ่นยนต์ดูดฝุ่นส่วนใหญ่ที่เห็นได้ตามท้องตลาด ก็จะมีทั้งแบบสั่งการผ่านรีโมท และแบบ Self-drive ที่หุ่นยนต์สามารถดูแลความสะอาดได้เอง โดยที่เราไม่ต้องควบคุมหรือคอยสั่งการ นอกจากนี้ ในเรื่องของดีไซน์และฟีเจอร์ต่างๆ ก็จะแตกต่างกันออกไป เช่น บางตัวก็เป็นทรงกลม แต่บางตัวก็เป็นทรงเหลี่ยม หรือบางตัวอาจจะมีฟีเจอร์พิเศษ (เช่น กวาดพื้น) ในขณะที่บางตัวไม่มี

 


Travelmate Robotics หุ่นยนต์กระเป๋าอัจฉริยะ

          หุ่นยนต์กระเป๋าสุดแสนอัจฉริยะที่เดินตามคุณไปทุกทีโดยไม่มีบ่น เป็นเทคโนโลยี AI ที่ทำให้ชีวิตประจำวันของคุณง่ายขึ้น สามารถเดินตามคุณไปได้ทุกที่แม้มีฝูงชนแน่นหนา ทำงานร่วมกับสมาร์ทโฟน โดยใช้ แอพพลิเคชั่น Travelmate เพื่อติดตามและระบุตำแหน่งที่คุณอยู่เพื่อให้เจ้ากระเป๋าอัจฉริยะตามตัวคุณได้ และตัวกระเป๋าเองมีระบบ GPS ฝังอยู่เพื่อป้องกันกระเป๋าสูญหาย มี 3 ขนาด S M L ให้เลือกใช้งานตามความเหมาะสม

 


Grillbot หุ่นยนต์ทำความสะอาดเตาอัตโนมัติ

          การทำงานของมันแสนง่ายดายเพียงแค่รอให้เตาปิ้งย่างบาร์บีคิวของคุณเย็นลง แล้วกดปุ่มบนตัวเครื่อง เจ้า Grillbot ก็จะทำความสะอาดเศษอาหารที่ติดอยู่บนเตา เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องเสียแรงเสียเวลานั่งขัดเตาของคุณแล้ว



FoldiMate เครื่องพับผ้าอัตโนมัติ

          เจ้าเครื่องพับผ้าอัตโนมัติที่ใช้งานง่ายเพียงแค่วางผ้าข้างบนเครื่องให้ตรงตำแหน่ง และเครื่องจะส่งผ้าผ่านกลไกของเครื่องลงมาเป็นผ้าที่ถูกพับเรียบร้อยพร้อมใช้งาน ซึ่งสามารุใช้งานได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก หมดปัญหาผ้ายับอีกต่อไป



Moley หุ่นยนต์ทำอาหาร

          ด้วยรูปร่างของหุ่นยนต์ที่มีลักษณะเป็นแขน 2 ข้างใช้ทำงานเลียนแบบมนุษย์ ผู้ใช้งานเพียงแค่ป้อนข้อมูลเมนูอาหารที่ต้องการเข้าไปในระบบ หุ่นยนต์จะทำการปรุงอาหารโดยอัตโนมัติ เพียงเท่านี้ก็เตรียมรับอาหารฝีมือระดับเชฟได้เลย และนอกจากปรุงอาหารแล้วเจ้าหุ่นยนต์ Moley ยังสามารถล้างจานได้อีกด้วยนะ



Pillo หุ่นยนต์คุณหมออัจฉริยะ

          ไม่ต้องกลัวลืมกินยาอีกต่อไปเมื่อมีผู้ช่วยอัจฉริยะด้านสุขภาพที่เปรียบเสมือนคุณหมอประจำบ้าน คอยเตือนความจำและจ่ายยาให้คุณ อีกทั้งยังสามารถตอบคำถามเรื่องสุขภาพ ยา วิตามิน ทำให้คุณไม่ต้องเสียเวลาเข้า google อีกต่อไป



Temi ผู้ช่วยอัจฉริยะ

          หุ่นยนต์ที่มาพร้อมหน้าจอแท็บเล็ตทำงานอัตโนมัติ ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อบ้านแม่บ้านส่วนตัวช่วยจัดการชีวิตทั้งยังอำนวยความสะดวกสบายให้สมาชิกในบ้าน ทำให้สมาชิกในบ้านใช้ชีวิตง่ายขึ้น



BratWurst Bot หุ่นยนต์ปิ้งไส้กรอก

          ในงานเลี้ยงสำคัญในกรุงเบอร์ลินเจ้าหุ่นยนต์ตัวนี้โชว์ฝีมือ ย่างไส้กรอกให้แขกผู้มาร่วมงานถึง 200 ชิ้นโดยไม่มีคนช่วยแม้แต่คนเดียว หากต้องการไส้กรอกสามารถสั่งได้ผ่านหน้าจอแท็บเล็ตที่อยู่ข้างหน้าเครื่อง ซึ่งระบบจะทำงานผ่านกล้อง RGB และซอฟต์แวร์ที่ถูกพัฒนาให้ดูสีไส้กรอกให้ได้ความสุกที่ลงตัว



Kobi หุ่นยนต์ดูแลสนามหญ้า

          หุ่นยนต์ kobi ช่วยดูแลและบำรุงรักษาสนามหญ้าหน้าบ้านของคุณให้สะอาดน่ามองอยู่ตลอดเวลา ควบคุมการทำงานผ่านทางแอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน และสมารถวิ่งไปที่สถานีชาร์จพลังงานเองได้เมื่อพลังงานใกล้จะหมด



Ohea smart bed เตียงนอนสุดอัจฉริยะ

          เตียงนอนที่ถูกสร้างมาเพื่อคนขี้เกียจโดยเฉพาะ เพราะเพียงแค่กดปุ่มคำสั่ง เจ้าเตียงอัจฉริยะจะทำงานเองโดยจัดเก็บเตียงของคุณให้กลับมาเนี้ยบเพียงแค่ 60 วินาที



Winbot ทำความสะอาดหน้าต่างอัตโนมัติ

          ด้วยระบบทำความสะอาดแบบไร้รอยขีดข่วนและเข้าได้ทุกซอกมุม ใช้รีโมทควบคุมการทำงานมีแบตสำรองในตัวหากเกิดปัญหาแบตเตอรี่หมดกลางคัน มาพร้อมตัวยึดและสายรัดเพื่อป้องกันการตกจากหน้าต่าง ช่วยให้คุณปลอดภัยเมื่อต้องทำความสะอาดกระจกสูงๆ บอกลาบันไดไปได้เลย

 

          การนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในชีวิตประจำวันนั้นช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่มนุษย์มากมายทั้งประหยัดแรงและเวลา ลดค่าใช้จ่าย ลดการบกพร่องของงาน แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่มีข้อเสีย เพราะการเลือกใช้แรงงานหุ่นยนต์นั้นทำให้การจ้างแรงงานมนุษย์งลดลง ส่งผลให้มีผู้ว่างงานเพิ่มจำนวนมากอาจสร้างความเดือดร้อนให้เพื่อนมนุษย์ จึงควรเลือกใช้งานให้เหมาะสมอย่าพึ่งพาสิ่งอำนวยความสะดวกมากเกินไป เพราะไม่เช่นนั้นหุ่นยนต์เหล่านี้อาจจะมาแทนที่งานประจำของมนุษย์ก็เป็นได้

 

 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

  ระบบลำเลียง ( Conveyor System ) คืออะไร ?           ระบบลำเลียง ( Conveyor System ) คือ ระบบการขนส่งที่ประกอบด้วยเครื่องกลที่สามารถเคลื่...